วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

สมาชิกในกลุ่ม

นางสาวภรชนันท์ เซี่ยงฉิน เลยที่ 15
นางสาวณิชาภัทร แซ่ปึ้ง เลขที่ 19
นางสาวธัญชนก ชัยรัตน์ เลขที่ 20
นางสาวชุติกานต์ สัมพันธ์ เลขที่ 26
นางสาวจริญญา อินทวิรัตน์ เลขที่ 29
ชั้น ม.4/13

ภาพกิจกรรมทีไปศึกษาแหล่งข้อมูลจริง

จากการได้ไปหาความรู้จากสถานที่จริงก็ได้ไปถามพระโดยตรงเกี่ยวกับการบวชและได้ไปถามจากร้านขายของที่ใช้ในการบวชว่าต้องใช้อะไรบ้างอย่างไร และของชนิดเดียวกันทำไมราคามันต่างกันต่างกันอย่างไรบ้าง ก็ได้ความรู้ใหม่ๆเพิ่มเติมขึ้นมาก
     






             





วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เครดิต

http://tarayna.wordpress.com/2012/02/21/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0/

http://www.dmc.tv/pages/top_of_week/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0-%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

http://www.ayu-culture.go.th/newweb/images/knowledge/K_G001.pdf

http://www.watbowon.com/schedual/bun/upasom_rule.htm


http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7818

ประโยชน์ของการบรรพชาและอุปสมบท

ประโยชน์ของการบรรพชาและอุปสมบท

 ๑. เป็นการทำหน้าที่ของพุทธศาสนิกชน หมายความว่า พุทธศาสนิกชนจะช่วยรักษา พระพุทธศาสนาโดยรักษาพระธรรมวินัยให้เจริญมั่นคง เพราะว่าพระพุทธศาสนาก็คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ายังดำรงอยู่ ก็จะเป็นประโยชน์แก่คนทั้งหลาย ช่วยให้เขามีชีวิตที่ดีงาม และสังคมที่ร่มเย็นเป็นสุข วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาพระพุทธศาสนา ก็คือ การบวชเข้าไปเรียนรู้พระธรรมวินัย และรักษาถ่ายทอดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าต่อกันไป เรียกว่า สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา

 ๒. เป็นการทำหน้าที่ของคนไทย หมายความว่า พระพุทธศาสนาเข้ามาอยู่ในสังคมไทย และได้
กลายเป็นมรดกของชนชาติไทย คนไทยได้เห็นว่าพระพุทธศาสนาเป็นทรัพย์สมบัติที่มีค่าสูงสุดของ
ประเทศชาติและสังคมของเราเพราะว่าเมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามาแล้ว ก็ให้หลักธรรมคำสอน ทำให้คน
ประพฤติดีงามเป็นหลักให้แก่สังคม ทำให้สังคมอยู่กันได้ด้วยสันติสุข มีการเบียดเบียนกันน้อยลง ถ้ามีคน
ดีมากกว่าคนชั่วสังคมนี้ก็อยู่ได้ พระพุทธศาสนาได้ช่วยให้คนมากมายกลายเป็นคนดีขึ้นมา นอกจากนั้น
พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของวัฒนธรรม ตั้งแต่ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี การศึกษา ดนตรีและ
ศิลปะต่าง ๆ ก็มาจากวัดวาอาราม เป็นต้น

๓. เป็นการสนองพระคุณบิดามารดา ดังที่ถือกันเป็นประเพณีว่า ถ้าใครได้บวชลูกแล้ว ก็ได้บุญ
กุศลมาก ช่วยให้พ่อแม่ได้เกาะชายผ้าเหลืองไปสวรรค์ ตลอดจนได้เป็นญาติของพระศาสนา แต่ถ้ามอง
ความหมายให้ลึกซึ้งลงไปก็เป็นเรื่องความเป็นจริงของชีวิตจิตใจ กล่าวคือ การบวชเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้
จิตใจของพ่อแม่มีความสุข มีความปลาบปลื้มใจ ด้วยความหวังว่าเมื่อลูกได้เข้าไปอยู่ในวัด ได้ศึกษาอบรม
ในพระธรรมวินัยแล้ว ต่อไปก็จะเป็นคนดี จะรับผิดชอบชีวิตของตนเองได้ จะรับผิดชอบต่อครอบครัวและ
สังคมได้ แล้วเกิดความมั่นใจ พ่อแม่ก็จะมีความสุขเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อลูกบวช ก็เท่ากับจูงพ่อ
แม่เข้ามาสู่พระศาสนาด้วย มีโอกาสได้ฟังธรรม ได้เรียนรู้ธรรมะ ทำให้ได้ใกล้ชิดพระศาสนา เรียกว่าเป็น
ญาติของพระศาสนาอย่างแท้จริง

 ๔. เป็นการฝึกอบรมพัฒนาตนเอง คือการพัฒนาชีวิตทั้งในด้านความประพฤติ คือพฤติกรรมทาง
กาย วาจา และด้านจิตใจที่มีความดีงาม เข้มแข็ง มั่นคง เป็นสุข และในด้านปัญญาคือความรู้ความเข้าใจ
สิ่งทั้งหลายตรงตามความเป็นจริง

ขั้นตอนและบทท่องจำก่อนสึก

๏ ขั้นตอนและบทท่องจำก่อนสึก
ไปแสดงตนต่อพระอุปัชฌาย์เพื่อแจ้งความจำนงขอลาสิกขา มีพระสงฆ์นั่งเป็นพยานเข้าประชุมพร้อมกัน ภิกษุเมื่อจะลาสิกขาต้องแสดงอาบัติแล้ว พาดผ้าสังฆาฏิเข้าไปนั่งหันหน้าตรงพระพุทธรูปบนที่บูชา กราบ ๓ ครั้ง ประนมมือ กล่าว นะโม...๓ จบ แล้วกล่าวดังนี้
สิกขัง ปัจจักขามิ คิหีติ มัง ธาเรถะ
(ข้าพเจ้าลาสิกขา ท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นคฤหัสถ์)
สำหรับแบบมหานิกายจะจบเพียงเท่านี้ แต่ในการลาสิกขาบทแบบธรรมยุตจะมีต่อไปอีกคือ
เมื่อกล่าวเสร็จแล้วกราบพระสงฆ์ผู้มาเป็นพยานลง ๓ ครั้ง แล้วเข้าไปเปลี่ยนผ้าขาวแทนผ้าเหลืองโดยใช้สอดเข้าด้านในผ้าเหลือง แล้วห่มผ้าขาว หันหน้าเข้าหาพระสงฆ์ กราบลง ๓ ครั้ง กล่าวว่า เอสาหัง ภันเต สุจิรปรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ อุปาสะกัง มัง สังโฆ ธาเรตุ อัชชตัคเค ปาณุเปตัง สะระณัง คะตัง (ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้วนั้น กับพระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป)

เสร็จแล้วพระที่เป็นประธานกล่าวคำให้ศีล ก็ว่าตามท่าน (ตอนนี้ถือว่าเป็นคฤหัสถ์แล้ว) จนท่านสรุปว่า อิมานิ ปัญจะ สิกขาปทานิ นิจจสีลวเสน สาธุกัง รักขิตัพพานิ เราก็รับว่า อาม ภันเต พระท่านก็จะกล่าวต่อว่า สีเลน สุคติ ยันติ...จนจบ เราก็กราบท่านอีก ๓ ครั้ง ถือบาตรน้ำมนต์ออกไปอาบน้ำมนต์ เมื่อพระภิกษุเริ่มหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ท่านก็จะเริ่มสวดชัยมงคลคาถาให้ เสร็จแล้วอุบาสกก็ผลัดผ้าขาวอาบน้ำ แล้วก็นุ่งผ้าเป็นคฤหัสถ์ (ปกติจะเป็นชุดใหม่ทั้งหมด เพราะถือเหมือนว่าเป็นการเริ่มชีวิตใหม่เลยทีเดียว) เสร็จแล้วเข้ามากราบพระสงฆ์อีก ๓ ครั้งเป็นอันเสร็จพิธี

วิธีแสดงอาบัติ

๏ วิธีแสดงอาบัติ
เมื่อใดที่รู้ว่าต้องอาบัติในข้อใดข้อหนึ่ง ต้องแสดงอาบัติกับพระรูปใดรูปหนึ่งเพื่อเป็นพยาน ดังนี้
(พระที่พรรษาอ่อนกว่า)
สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ ครั้ง)
สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรจามิ (ว่า ๓ ครั้ง)
อะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย
อาปัตติโย อาปัชชิง ตา ตุมหะ มูเล ปะฏิเทเสมิ
(พระที่พรรษาแก่กว่ารับว่า)
ปัสสะสิ อาวุโส ตา อาปัตติโย
(พระที่พรรษาอ่อนกว่า)
อุกาสะ อามะ ภันเต ปัสสามิ
(พระที่พรรษาแก่กว่ารับว่า)
อายะติง อาวุโส สังวะเรยยาสิ
(พระที่พรรษาอ่อนกว่า)
สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ
ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ
ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ
นะ ปุเนวัง กะริสสาม
นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ
นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ
(พระที่พรรษาแก่กว่าว่า)
สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (กล่าว ๓ ครั้ง)
สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (กล่าว ๓ ครั้ง)
อะหัง อาวุโส สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย
อาปัตติโย อาปัชชิง ตา ตุยหะ มูเล ปะฏิเทเสมิ
(พระที่พรรษาอ่อนกว่ารับว่า)
อุกาสะ ปัสสะถะ ภันเต ตา อาปัตติโย
(พระที่พรรษาแก่กว่าว่า)
อามะ อาวุโส ปัสสามิ
(พระที่พรรษาอ่อนกว่ารับว่า)
อายะติง ภันเต สังวะเรยยาถะ
(พระที่พรรษาแก่กว่าว่า)
สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
นะ ปุเนวัง กะริสสามิ
นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ

นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ 

บทกิจวัตรเมื่อเป็นพระ

๏ บทกิจวัตรเมื่อเป็นพระ
๑. ลงอุโบสถ (ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น)
๒. บิณฑบาตรเลี้ยงชีพ
๓. สวดมนต์ไหว้พระ
๔. กวาดอาวาสวิหารลานพระเจดีย์
๕. รักษาผ้าครอง
๖. อยู่ปริวาสกรรม
๗. โกนผม ปลงหนวด ตัดเล็บ
๘. ศึกษาสิกขาบทและปฏิบัติพระอาจารย์
๙. เทศนาบัติ
๑๐. พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง ๔ เป็นต้น
(ให้รู้จักข่มใจ เว้นแต่ความจำเป็น ๔ อย่างคือ จีวร บิณฑบาตร เสนาสนะ และเภสัช)