วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ความหมายและความเป็นมา

ความหมายของคำว่า บวช
คำว่า บวช มาจากศัพท์ว่า ปะวะชะ แปลว่า งดเว้น ได้แก่ งดเว้นในสิ่งที่ควรงดเว้น คือ เว้น
จากกิจบ้านการเรือนมาบำเพ็ญเพียรทำกิจพระศาสนา มีสวดมนต์ ภาวนา เป็นต้น การบวชนั้น ถ้าเป็น
สามเณร เรียก บรรพชา ถ้าเป็น พระภิกษุ เรียก อุปสมบท

ความเป็นมาของการบวช
บรรพชาหรือการบวชนั้น ตามความหมายทั่วไป มีมาแต่เดิมก่อนพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น คือในหมู่
ประชาชนนั้น มีบุคคลบางคนที่ รู้จักคิดพิจารณา มองเห็นชีวิตของหมู่มนุษย์ในสังคมมีความเป็นไป
ทั้งทางดีและทางร้าย บางครั้งสังคมก็มีความเสื่อม บางครั้งก็มีความเจริญ ผันผวนปรวนแปรไปต่าง ๆ
ไม่เที่ยงแท้แน่นอน หาสาระและความสุขแท้จริงไม่ได้
 การมีชีวิตอยู่ท่ามกลางสังคม นอกจากวุ่นวาย หาความสุขจากความสงบได้ยากแล้ว ก็มักไม่
เปิดโอกาสแก่การที่จะแสวงหาความเข้าใจ และความรู้จริงเกี่ยวกับชีวิต จึงมีคนบางคนในหมู่ชนเหล่านั้น
ปลีกตัวออกจากสังคม แล้วออกไปอยู่ในที่ห่างไกลเพื่อจะได้มีความสุขสงบ และมีเวลาคิดค้นสิ่งต่าง ๆ
ไม่ถูกรบกวนด้วยเรื่องวุ่นวายที่เกี่ยวกับคนอื่น ด้วยการปลีกตัวออกไปจากสังคมนั้น ก็จึงได้เกิดมีชีวิต
แห่งการบวชขึ้นมา ผู้ที่ออกบวชเหล่านี้ก็ได้ไปอยู่ตามป่าตามเขา ในที่สงัดเช่นในถ้ำแล้วก็หาความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิต ไปคิดค้นพิจารณา ตลอดจนหาความสงบของจิตใจ และได้มีความสุขจากสันติ
อันเป็นความสงบที่ปราศจากเรื่องวุ่นวายทางโลก 
 การแสวงหาความหมายของชีวิต และชีวิตที่มีความหมายพร้อมกับหาความสงบของจิตใจอย่างนี้
ได้มีมาเป็นพื้นฐาน จนกระทั่งถึงสมัยที่เจ้าชายสิทธัตถะได้ประสูติ ตอนแรก เจ้าชายสิทธัตถะก็อยู่
ท่ามกลางชีวิตในโลก โดยประทับอยู่ในวังและวุ่นวายอยู่กับเรื่องการหาความสุขจากวัตถุที่เรียกว่า กามสุข
แต่ต่อมาก็ทรงเห็นว่า การที่จะอยู่ตาม ๆ กันไปกับผู้อื่น เกิดมาแล้วก็แก่ แล้วก็เจ็บตายกันไป วนเวียนกัน
อยู่แค่นี้ โดยไม่รู้ไม่เข้าใจในความจริงของชีวิต ไม่ช่วยให้เข้าถึงชีวิตที่ดีงาม ตลอดจนความเป็นอิสระของ
จิตใจ ในที่สุดพระองค์ได้ทรงพิจารณาหาทางว่า ท าอย่างไรจึงจะสามารถเข้าถึงความจริงและความดีงาม
นั้นได้ การมีชีวิตอยู่ท่ามกลางความวุ่นวายในสังคมนั้น ไม่อำนวยโอกาส เพราะชีวิตการครองเรือนมีห่วง
กังวลรุงรัง วุ่นวายผูกรัดตัวมาก อย่างที่ท่านกล่าวว่า สมพาโธ ฆราวาโส แปลว่า ชีวิตครองเรือนนี้คับแคบ
ทรงเห็นว่า การออกบวชอย่างนักบวชที่มีในยุคพุทธกาลสืบต่อกันมาแต่สมัยโบราณนั้น เป็นทางออกที่ดี
อพโภกาโส ปพพชชา การบรรพชานั้น เหมือนกับการออกมาสู่ที่โล่งแจ้ง ปลอดโปร่ง เป็นอิสระ คล่องตัว
ไปไหนไปได้ จึงตัดสินพระทัยสละชีวิตในวัง เสด็จออกผนวช เรียกว่าบรรพชา แล้วก็เสด็จไปแสวงหา
ความรู้ความเข้าใจจากสำนักต่าง ๆ และทรงประพฤติปฏิบัติตามแนวทางของพวกนักบวชเหล่านั้น
ทุกแบบ พระองค์ทรงไปทดลองตามแนวทางปฏิบัติของนักบวชสมัยนั้น ในที่สุดก็ทรงเห็นว่า ลัทธิของ
นักบวชเหล่านั้น รวมทั้งฤๅษีดาบสต่าง ๆ ไม่เป็นทางที่จะให้บรรลุความรู้ความเข้าใจ เกิดปัญญา ที่จะรู้แจ้ง
ความจริงและทำชีวิตจิตใจให้เป็นอิสระหลุดพ้นได้ จึงทรงแสวงหาหนทางของพระองค์เอง แล้วก็ได้ตรัสรู้
ในวันเพ็ญเดือน ๖ เมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีมาแล้ว ดังที่เราเรียกวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ว่า วันวิสาขบูชา
 เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว ก็ได้นำธรรมะมาสั่งสอนเผยแพร่ต่อไป ผู้ที่เห็นด้วยและศรัทธา ในคำสอน
ของพระองค์ เข้าใจความจริงของชีวิต และเข้าใจหลักความดีต่าง ๆ ที่พัฒนาชีวิตให้ถึงความสุข
ความเจริญงอกงามที่แท้จริง ก็ขอมาประพฤติปฏิบัติอยู่กับพระองค์โดยสละความเป็นอยู่ท่ามกลาง
บ้านเรือน เรียกว่าออกบวช เมื่อมีผู้มาขอบวชอยู่กันมากขึ้น มีนิสัยใจคอความประพฤติ ต่างๆ กัน บางคน
ก็ทำสิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควร พระพุทธเจ้าก็ทรงจัดตั้งวางระเบียบวินัยขึ้น ทำให้ชีวิตการบวชมีแบบแผน
เฉพาะขึ้นมา
สำหรับ พระพุทธศาสนา ตามพระวินัยที่พระพุทธเจ้าจัดวางไว้นั้น ในขั้นต้น ขอบวชเป็นสามเณร
ก่อน เรียกว่า บรรพชา ต่อมาเมื่อมีคุณสมบัติพร้อมแล้ว จะบวชให้สมบูรณ์ จึงเข้าที่ประชุมสงฆ์บวชเป็น
พระภิกษุเรียกว่า อุปสมบท การบวชเป็นสามเณร ที่เรียกว่า บรรพชานั้น ไม่จำเป็นต้องมีสงฆ์ มีแต่
พระอุปัชฌาย์องค์เดียวก็พอ แต่ถ้าจะบวชเป็นพระภิกษุคือจะอุปสมบท ต้องมีสงฆ์ประชุมพิจารณาให้มติ

ความเห็นชอบร่วมกัน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น