วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

พิธีบวชชี – พรหมณี

พิธีบวชชี พรหมณี
๑.จุดธูปเทียนบูชา พระรัตนตรัย กราบ ๓ ครั้ง
๒.จัดเครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูป เทียน ใส่พานเข้าไปถวาย
๓.กล่าวคำปฏิญาณตนขอบรรพชา
เอสาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง
สะระณังคัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, อุปาสิกัง มัง
สังโฆ ธาเรตุม อัชชะตัคเค ปาณุเปตัง สะระณัง คะตัง.
ทุติยัมปาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวัน
ตัง สะระ-ณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, อุปาสิกัง มัง
สังโฆ ธาเรตุม อัชชะตัคเค ปาณุเปตัง สะระณัง คะตัง.
ตะติยัมปาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง
สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ ,อุปาสิกัง มัง
สังโฆ ธาเรตุม อัชชะตัคเค ปาณุเปตัง สะระณัง คะตัง.
๔.กล่าวคำอาราธนาศีล ๘
อะหัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฎฐะ สีลานิ ยาจามิ.
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฎฐะ สีลานิ ยาจามิ.
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฎฐะ สีลานิ ยาจามิ.
๕.กล่าวตามคำพระเถระผู้เป็นประธาน ตามลำดับดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
เมื่อพระเถระว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฎฐิตัง
ให้รับคำว่า
อามะ ภันเต
- ปาณาติปาตา เวระมะณี สิขาปะทัง สะมาทิยามิ
- อะทินนาทานา เวระมะณี สิขาปะทัง สะมาทิยามิ
- อะพ์รห์มจะริยา (อะพรัมมะจะริยา) เวระมะณี สิขาปะทัง สะมาทิยามิ
- มุสาวาทา เวระมะณี สิขาปะทัง สะมาทิยามิ
- สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฎฐานา เวระมะณี สิขาปะทัง สะมาทิยามิ
- วิกาละโชนา เวระมะณี สิขาปะทัง สะมาทิยามิ
- นัจจะคีตะวาทิตะวิสุกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะทาระณะ
มัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
- อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิขาปะทัง สะมาทิยามิ

     (แปล)
สิกขาบทที่ ๑ เว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และไม่ใช้ผู้ใดผู้หนึ่งให้ฆ่า
สิกขาบทที่ ๒ เว้นจากการลักฉ้อข้าวของของเขาด้วยตนเอง และไม่ใช้
                   ผู้อื่นให้ลักและฉ้อ และไม่ถือเอาซึ่งสิ่งของอันเจ้าของเขา
                   ยังไม่อนุญาตให้ด้วยการ หรือด้วยวาจา
สิกขาบทที่ ๓ เว้นจากการเสพอสัทธรรม กรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์
สิกขาบทที่ ๔ เว้นจาการพูดปดและล่อลวงผู้อื่นด้วยกายหรือวาจา
สิกขาบทที่ ๕ เว้นจากการดื่มสุราและเมรัยตลอดจนยาเสพติดทุกชนิด
สิกขาบทที่ ๖ เว้นจากการบริโภคอาหารในกาลอันผิดคือตั้งแต่อาทิตย์เที่ยงแล้วไป
                   จนถึงเวลาอรุณรุ่งขึ้นใหม่
สิกขาบทที่ ๗ เว้นจากการฟ้อนรำขับร้อง และประโคมเครื่องดนตรีต่างๆ และ
                   ดูการละเล่นแต่บรรดาเป็นข้าศึกแก่กุศลและทัดทรงประดับประดา
                   ตกแต่งซึ่งร่างกายด้วยระเบียบดอกไม่และของหอม เครื่องทา, ย้อม
                   ผัดผิว ให้งามต่างๆ
สิกขาบทที่ ๘ เว้นจากการนั่งนอนเหนือที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่และเบาะฟูกมีภายในใส่
                   ด้วยนุ่นและสำลี และเครื่องปูลาดอันวิจิตรงามทำด้วยเงินและทองต่างๆ
เมื่อพระเถระให้ศีลจบแล้ว กล่าวตามพระสามครั้ง ดังนี้
อิมานิ อัฎฐะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ.
อิมานิ อัฎฐะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ.
อิมานิ อัฎฐะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ.
กราบ 3 ครั้ง

๖.ถวายเครื่องไทยธรรม(ถ้ามี) แด่พระสงฆ์
๗.ทำการกรวดน้ำ เมื่อพระเถระเริ่มให้พร เมื่อจบแล้วกราบ ๓ ครั้ง เป็นเสร็จพิธี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น