วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

หน้าที่สำคัญสำหรับผู้ที่จะอุปสมบท

หน้าที่สำคัญสำหรับผู้ที่จะอุปสมบท
๑. ให้ท่องคำบวช หรือ ค าขานนาค อันได้แก่ ค าขอบรรพชาอุปสมบท ค าสมาทานสิกขาบท คำขอนิสัย คำตอบคำถามของพระกรรมวาจา ฯลฯ ให้จำได้ขึ้นใจ
๒. เมื่อใกล้ถึงวันบวช จะต้องไปอยู่วัด เพื่อฝึกซ้อมขั้นตอนพิธีการบรรพชาอุปสมบท จากพระพี่เลี้ยง และดูจากเจ้านาคคนอื่นๆ ที่อุปสมบทก่อนเรา
๓. ไปขอ ฉายา” (ชื่อใหม่ของตน เมื่อบวชเป็นพระแล้ว) จากอุปัชฌาย์หรือเจ้าอาวาส เพื่อใช้ตอบคำถามของพระกรรมวาจาต่อหน้าที่ประชุมสงฆ์ในเวลาทำพิธีบวช
๔. ท่องบทสวดมนต์พระปริตรต่างๆ พร้อมบทให้ศีลให้พร บทอนุโมทนา ฯลฯ หลังจากที่บวชเป็นสามเณรหรือภิกษุแล้ว

การบวชพระที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่ ๒ แบบด้วยกัน คือ แบบอุกาสะ และแบบเอสาหัง
โดยคำว่า "อุกาสะ" แปลว่า ขอโอกาส ส่วนคำว่า "เอสาหัง" แปลว่า ข้าพเจ้านั้น ในประเทศไทย
การบวชพระแบบอุกาสะนั้น จะใช้กันในคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ซึ่งเป็นแบบเดิมที่ใช้กันมาแต่โบราณกาล
ส่วนการบวชพระแบบเอสาหัง จะใช้ในคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกาย โดยการประยุกต์มาจากแบบอุกาสะ
เพื่อย่อขั้นตอนให้สั้นขึ้น มีใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยยึด
รูปแบบมาจากพระสงฆ์ประเทศพม่า

การกำหนดฤกษ์ยาม
 ก่อนจะทำการบวชจะต้องหาฤกษ์ยามอันเป็นมงคลหรือหากำหนดการที่แน่นอนลงไป โดยพ่อแม่
ต้องนำบุตรชายผู้ที่จะบวช ไปพบกับอุปัชฌาย์หรือท่านเจ้าอาวาส เพื่อให้ท่านตรวจวันเดือนปี เมื่อเห็นว่า
มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จึงดูฤกษ์ยามกำหนดวันบวชให้ ในการไปหาอุปัชฌาย์นั้น ต้องนำดอกไม้ธูป
เทียนเครื่องสักการะไปด้วย
การลาญาติผู้ใหญ่ หรือผู้ที่เคารพนับถือ
เป็นเรื่องที่ผู้จะบวชพึงทำ วิธีปฏิบัติคือ ให้เตรียมกระทงดอกไม้มีกรวยครอบ พร้อมธูปเทียนแพ
วางลงบนพาน เมื่อไปถึงผู้ที่จะรับการลา ก็เข้าไปกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง เปิดกรวยกระทง
ดอกไม้แล้วยกขึ้นประคองต่อหน้าผู้รับการลาพร้อมกับกล่าวคำขอขมาว่า "กรรมใดที่ข้าพเจ้าได้เคย
ล่วงเกินต่อท่าน ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ทั้งต่อหน้า และลับหลัง ทั้งที่รู้และไม่รู้ เพื่อ
ความบริสุทธิ์แห่งเพศพรหมจรรย์ ขอท่านโปรดอโหสิกรรมนั้นแก่ข้าพเจ้าด้วย เทอญ " ญาติผู้ใหญ่จะ
เอื้อมมือมาแตะพาน แล้วกล่าวว่า สาธุ ข้าพเจ้ายินดีอโหสิกรรมให้เธอทุกอย่าง และขอให้เธอจง
อโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าด้วย ข้าพเจ้าขออนุโมทนาต่อท่านที่ได้บวชในพระพุทธศาสนา ทดแทนคุณบิดา
มารดา และจงเป็นศาสนทายาท สืบต่อพระพุทธศาสนาด้วยดีในเพศพรหมจรรย์ เทอญ " จบแล้ว นาค
จึงเอาพานวางที่พื้น กราบเบญจางคประดิษฐ์อีกสามครั้ง แล้วนั่งพับเพียบ เมื่อสนทนาพอสมควรแก่เวลา
แล้ว บอกลาท่าน ท่านจะมอบพานดอกไม้ เทียนแพคืนให้ เพื่อจะได้นำไปใช้ลาท่านผู้อื่นต่อไป 
การปลงผม
ถ้าในงานบวชนาคนั้นมีพิธีทำขวัญนาคด้วย ก็จะปลงผมก่อนวันบวชหนึ่งวัน แล้วนุ่งขาวห่มขาว
เข้า พิธีทำขวัญนาค ถ้าไม่มีการทำขวัญนาคก็จะปลงผมในวันบวช โดยพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ หรือ
พระภิกษุที่คุ้นเคยเป็นผู้ขลิบปลายผมให้ก่อนเป็นพิธี ต่อจากนั้นก็ให้ผู้ที่โกนผมเป็นผู้โกนผม หนวด เครา

คิ้ว ให้หมดจด อาบน้ำแล้ว นุ่งขาวห่มขาว เตรียมเข้าโบสถ์เพื่อทำพิธีบรรพชาอุปสมบท 

โกนผมนาค เริ่มโดยพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ หรือผู้ที่มาร่วมบุญงานบวชพระในครั้งนี้ ท าการขลิบ
ผมให้นาคเป็นปฐมฤกษ์ จากนั้นพระสงฆ์จะทำการโกนผมให้นาค ตามประเพณีการบวชพระที่ปฏิบัติโดย
ทั่วกันนั้น ผมนาคที่โกนแล้วจะห่อด้วยใบบัวแล้วนำไปลอยที่แม่น้ำหรือวางไว้ใต้ร่มโพธิ์ โดยเชื่อว่าจะทำ
ให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ในการปลงผมนั้นจะปลงที่บ้านหรือที่วัดก็ได้แล้วแต่ความสะดวก แต่โดยทั่วไป
นิยมปลงผมที่วัดมากกว่า เนื่องจากญาติหรือแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานจะได้มีโอกาสร่วมพิธีตัดผมนาค
อีกทั้งยังเป็นการประหยัดเวลาของเจ้าภาพและแขกที่มาร่วมงานอีกด้วย เพราะเมื่อปลงผมเสร็จจะได้ทำ
พิธีเวียนประทักษิณรอบสีมา และเข้าอุโบสถประกอบพิธีอุปสมบทต่อไป

การแต่งกายของนาค

 

การแต่งกายของนาคนั้นควรแต่งด้วยชุดขาวทั้งหมด ซึ่งจะบ่งบอกถึงความสะอาดบริสุทธิ์
ทั้งกาย วาจา ใจ ของผู้ที่จะบวช การแต่งตัวนาค ไม่ควรมีเครื่องประดับประดามากจนเกินไป
เครื่องแต่งตัวนาค ประกอบด้วย
๑. เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาว
๒. สบงขาว
๓. อังสะขาว
๔. เข็มขัด หรือสายรัดสำหรับรัดสบง ในส่วนเข็มขัดนี้ ใช้สำหรับรัดสบงขาว ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยม
ใช้เข็มขัดนาค ในกรณีที่ไม่มีเข็มขัดนาคจะใช้เข็มขัดอย่างอื่นหรือสายรัดแทนก็ได้ ไม่ใช่ข้อกำหนด
ตายตัว แต่การใช้เข็มขัดนาคเป็นการปฏิบัติตามประเพณีการบวชพระที่นิยม เพื่อให้สอดคล้องกับคำว่า
"นาค" ซึ่งเป็นชื่อเรียกผู้ที่จะบวชในพระพุทธศาสนาเท่านั้น
๕. เสื้อคลุมนาค
๖. สร้อยคอ หากมีสร้อยคอจะสวมให้นาคก็ได้ หรือไม่สวมก็ได้ แต่ไม่ควรคล้องพวงมาลัยให้นาค
เพราะจากนาคจะกลายเป็นนักร้องแทน 

การทำขวัญนาค


ตามประเพณีไทยนั้น เมื่อลูกชายบ้านไหนถึงเกณฑ์จะบวชพระแล้ว ผู้หลักผู้ใหญ่ก็จะจัดการให้ผู้
บวชนำดอกไม้ธูปเทียนแพใส่พาน ไปบอกกล่าว วงศาคณาญาติที่นับถือ ที่เรียกกันว่า ลาบวชจากนั้น
จึงมีการสมโภช หรือที่ เรียกว่า ทำขวัญนาคก่อนบวช ๑ วัน แต่สมัยนี้มักทำขวัญนาคในช่วงเช้า
แล้วทำพิธีบวชในตอนบ่ายเลยก็มี ในวันทำขวัญนาคนั้น เจ้านาคซึ่งโกนหัว โกนคิ้ว โกนหนวด ตัดเล็บเรียบร้อยแล้วจึงนุ่งห่ม ด้วยเครื่องแต่งกายที่งดงามมีแก้วแหวนเงิน ทองต่าง ๆ อันเป็นสิ่งแสดงความฟุ้งเฟ้อในทางโลกมุ่งจับด้วยผ้ายกทอง ใส่เสื้อครุยปักทอง สไบเฉียงทางไหล่ซ้ายคาดเข็มขัดหัวเพชร ใส่แหวนทั้ง ๘ นิ้ว หรือแล้วแต่ จะมีใส่ จากนั้นไปนั่งหน้าบายศรี หมอทำขวัญนาคก็จะอ่านคำทำขวัญนาคขึ้น ตามทำนอง มีเนื้อความอธิบายถึงชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เริ่มเป็นตัว และพ่อแม่ได้ บำรุงเลี้ยงมาด้วยความยากจนเติบใหญ่ ก็ด้วยความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะได้เห็นลูกเป็นคนดี และบัดนี้ก็เป็นที่สมประสงค์ที่เจ้า นาคจะอุปสมบทใน พระพุทธศาสนา จึงเป็นการสมควรยิ่งที่เจ้านาคจะพึงรักษาความดีอันเป็นมงคลนี้ ไว้แก่ตนต่อไป
ชั่วอวสานแห่งชีวิต เมื่ออ่านบททำขวัญนาคจบแล้ว พราหมณ์ก็ตั้งต้นทำพิธีสมโภช ด้วยน้ำสังข์จุณเจิม และ เวียนเทียน ประโคมด้วยดุริยดนตรีตามคติ เป็นที่พรักพร้อมใน ระหว่างวงศาคณาญาติ และเพื่อนฝูง
ทั้งหลายแล้ววันรุ่งขึ้นจึงเข้าพิธีอุปสมบท มีการแห่เจ้านาคไปสู่วัดอย่างสนุกสนานครึกครื้น

การนำนาคเข้าโบสถ์

[DSC_2830%255B10%255D.jpg] 

ตามประเพณีนิยม มักปลงผมนาค และทำขวัญนาคที่บ้านของเจ้านาค วันรุ่งขึ้นจึงมีขบวนแห่ไป
ยังวัด แล้วแห่นาคไปยังโบสถ์ เวียนโบสถ์สามรอบแบบ ทักษิณาวรรต พร้อมด้วย เครื่องอัฏฐบริขาร ที่ใช้
ในการบวช และของ ที่ถวายพระ จนครบแล้วจะให้นาคมา วันทาสีมา ส่วนเครื่องอัฏฐบริขาร และของ
ถวายพระ จะนำไปตั้งในโบสถ์ก่อน
การวันทาสีมา นาคจะจุดธูปเทียนที่เสมาหน้าโบสถ์ แล้วนั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวคำวันทาสีมา
แล้วกราบ ปักดอกไม้ธูปเทียน ณ ที่จัดไว้ เมื่อวันทาเสมาเสร็จแล้ว น านาคมาที่หน้าโบสถ์ นาคจะโปรย
ทาน เสร็จแล้วจึงจูงนาคเข้าโบสถ์ โดยบิดาจูงมือข้างขวา มารดาจูงมือข้างซ้าย พวกญาติคอยจับชายผ้า
ตามส่งข้างหลัง นาคต้องก้าวข้ามธรณีประตูห้ามเหยียบเป็นอันขาด เมื่อพ้นประตูไปแล้วให้เดินตรงไปที่
พระประธาน ไหว้พระประธานโดยใช้ดอกไม้ธูปเทียนอีกหนึ่งกำนำไปจุดธูปเทียนบูชาพระประธาน ใช้คำ
บูชาพระเหมือนคำวันทาเสมาข้างต้น แล้วกลับมานั่ง ณ ที่ซึ่งจัดไว้แถวผนังด้านหน้าของโบสถ์

พิธีบรรพชาอุปสมบท

 

เมื่อถึงกำหนด พระสงฆ์ที่ได้รับอาราธนาในพิธีบวชมี พระอุปัชฌาย์ พระคู่สวด และ พระอันดับ
จะเข้าอุโบสถ นั่งตามแผนผังที่คณะสงฆ์กำหนด พิธีเริ่มโดยพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือญาติผู้ใหญ่เข้ามานั่ง
ข้างหน้านาค เพื่อจะมอบผ้าไตรให้นาคเข้าทำพิธีบวชต่อพระสงฆ์ต่อไป ซึ่งปฏิบัติเช่นเดียวกับวิธีซ้อมขาน
นาคที่กล่าวมาแล้ว เมื่อพระอุปัชฌาย์บอก อนุศาสน์เสร็จแล้ว เจ้าภาพ ญาติมิตรถวายของพระอันดับ
พระใหม่ถวายพระอาจารย์คู่สวดอีกหนึ่งรูปที่ยังมิได้ถวาย ต่อจากนั้นพระอุปัชฌาย์จะบอกให้พระใหม่มา
นั่งรับประเคนของบริวารบวชที่ด้านหน้า พระใหม่จะออกมานั่งพับเพียบอยู่ท้ายอาสนสงฆ์ ทอดผ้ากราบ
ไว้ข้างหน้า หากผู้ชายประเคนก็รับของด้วยมือ หากเป็นผู้หญิงก็จับผ้ากราบไว้ โยมผู้หญิงจะวางบนผ้า
กราบ เมื่อรับของประเคนหมดแล้ว ให้กลับนั่งหันหน้ามาทางพระสงฆ์ เตรียมกรวดน้ำ
การกรวดน้ำ
เมื่อเสร็จการรับประเคนแล้ว พระใหม่และพ่อแม่หรือผู้ปกครอง หรือเจ้าภาพในการบวชครั้งนี้
จะกรวดน้ำโดยใช้เต้ากรวดน้ำคนละที่ เมื่อพระอุปัชฌาย์ซึ่งเป็นประธานสงฆ์ในที่นั้น เริ่มบท อนุโมทนาว่า
ยถา วารีวหา ปูร ....พระใหม่และญาติที่เป็นเจ้าภาพก็จะกรวดน้ำพร้อมกัน เมื่อขึ้นบท สพฺพีติโย ....
ก็กรวดน้ำหมดเต้าพอดี นั่งพนมมือรับพรจากพระสงฆ์ เสร็จแล้วพระใหม่กราบเบญจางคประดิษฐ์
สามครั้ง เป็นอันเสร็จพิธีการบวช หลังจากนั้นพระพี่เลี้ยงจะนำพระใหม่ขึ้นจากโบสถ์ พระใหม่ควรสะพาย
บาตรด้วยไหล่ขวา มือซ้ายถือพัด ส่วนของอื่นให้ผู้อื่นถือไป พระพี่เลี้ยงจะนำออกทางประตูหน้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น